พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์เจ็ดชั้น นิยม
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ตรีนิสิงห์ พระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
naput | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเนื้อผง | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระสมเด็จวัดเกศไชโย พิมพ์เจ็ดชั้น นิยม |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระสมเด็จวัดเกศไชโย นับเป็นพระที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวาง นับเนื่องจากว่าเป็นพระที่อยู่ในตระกูล “พระสมเด็จ” วัดไชโยวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร นับเป็นที่วัดเก่าแก่ แต่ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าใครสร้าง ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดไชโย” หรือ “วัดเกศไชโย” เป็นเวลานานมาแล้ว ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สุดเขตแดนตอนเหนือของ จ.อ่างทอง วัดเกศไชโยเริ่มปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปก็เมื่อครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ผู้เป็นอมตะเถระ ได้มาสร้างพระพุทธรูปใหญ่โตขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เรียกกันว่าหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ ก่ออิฐสอดินถือปูนขาว ไม่ได้ปิดทอง ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง ขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูงสุดถึงยอดพระรัศมี 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว มองเห็นได้แต่ไกล ต่อมาให้ชื่อว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนบดินทร (บุญรอด) ที่สมุหนายก สำเร็จราชการกรมมหาดไทย เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นใหม่ทั่วพระอารามเมื่อปีกุน (พ.ศ.2430) ตอนที่สร้างพระวิหารครอบพระมหาพุทธพิมพ์ได้มีการกระทุ้งรากฝังเข็ม พระมหาพุทธพิมพ์เป็นพระพุทธรูปใหญ่ทนการกระเทือนไม่ได้จึงพังทลายลงมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่เป็นของหลวงทดแทนพระพุทธรูปที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างเอาไว้ และจากที่พระมหาพุทธพิมพ์ พังทลายลงมานี้เอง จึงได้พบพระพิมพ์เนื้อผงขาวทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นจำนวนมาก เรียกกันว่า “พระสมเด็จวัดเกศไชโย” เป็นที่ยอมรับและเชื่อกันว่า “พระสมเด็จวัดเกศไชโย” เป็นพระเครื่องที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างและบรรจุเอาไว้เพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นอนุสรณ์แด่โยมมารดาของท่านชื่อ “เกศ” ตามบันทึกของพระยาทิพโกษา (สอน โลหะนันท์) และนายกสัชฌุกร ซึ่งได้บันทึกจากการบอกเล่าของพระธรรมถาวร จันทโชติ สามเณรที่ช่วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ตำผงเพื่อสร้างพระสมเด็จประมาณ ปี พ.ศ.2409 ที่วัดระฆังโฆสิตาราม พระที่สร้างขึ้นในสมัยนั้นมีทั้ง 3 ชั้น 7 ชั้น ซึ่ง “พิมพ์ 7 ชั้น” ได้นำไปบรรจุไว้ที่วัดเกศไชโย จ.อ่างทอง พระสมเด็จวัดเกศไชโย เป็นพระเนื้อปูนขาว องค์พระมักมีสีขาวมากกว่าสีอื่นๆ ด้านหลังของพื้นฐานบางองค์เป็นรอยกาบหมากเห็นเป็นเส้นๆ ได้ชัด พิมพ์ที่เป็นที่นิยมสะสมมี 3 พิมพ์คือ พิมพ์ 7 ชั้น นิยม พิมพ์ 6 ชั้น อกตัน และพิมพ์ 6 ชั้น อกตลอด พระสมเด็จวัดเกศไชโยทั้ง 3 พิมพ์ นี้ เป็นพระพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยม เหมือนพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม การตัดขอบข้างทั้ง 4 ด้านจะมนแทบทุกองค์รวมทั้งมุมทั้ง 4 มุมด้วย มีกรอบกระจกจากพื้นผนังกรอบอีกชั้นหนึ่ง และมีพุทธลักษณะโดยรวมคล้ายๆ กัน ต่างกันแค่ที่ฐานอาสนะซึ่งมี 7 ชั้น และ 6 ชั้นเท่านั้น คือ องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางขัดสมาธิราบ อกร่อง หูบายศรี สถิตเหนือฐานอาสนะภายในซุ้มครอบแก้วด้านในกรอบกระจก เส้นซุ้มครอบแก้วจะคมชัด มีลักษณะเป็นเส้นโค้งครอบคลุมองค์พระจดเส้นกรอบด้านล่าง และในจำนวนพระสมเด็จวัดเกศไชโยทั้ง 3 พิมพ์ พิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ พิมพ์ 7 ชั้น นิยม ซึ่งนอกจากฐานจะเป็น 7 ชั้น จุดตำหนิเฉพาะสำคัญอื่นๆ ในการพิจารณา มีดังนี้ พระกรรณ ซึ่งเป็น “หูบายศรี” พระกรรณข้างซ้ายจะเชิดสูงกว่าพระกรรณข้างขวา พระพักตร์และพระศอ ดูรวมๆ คล้ายหัวไม้ขีด องค์พระสภาพเดิมๆ ที่ติดคมชัด จะเห็นโคนแขนแทงเข้าไปที่หัวไหล่ ปลายฐานชั้นบนทางซ้ายองค์พระแหลมคมปลายสะบัดออก ปลายฐานชั้นล่างสุดทั้งสองข้าง จะเป็นเดือยวิ่งเข้าชนเส้นครอบแก้ว ปลายฐานชั้นล่างสุดทางซ้ายขององค์พระจะคล้ายเดือยไก่ซุ้มครอบแก้ว มีติ่งแหลมบนเข่าขวาขององค์พระ พระสมเด็จวัดเกศไชโย นับเป็นพระที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวาง นับเนื่องจากว่าเป็นพระที่อยู่ในตระกูล “พระสมเด็จ” ที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผู้เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วหล้า ขอบคุณที่มา ข้อมูลโดย aj-ram.com |
|||||||||||||||
ราคา
|
โชว์ | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
- | |||||||||||||||
ID LINE
|
0889747991 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
7,258 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 376-2-27954-0 ธนาคารกสิกรไทย / 037-3-86656-3
|
|||||||||||||||
|