รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม วัดหนองหลวง
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ตรีนิสิงห์ พระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
naput | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
รูปหล่อ เหรียญหล่อ | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม วัดหนองหลวง |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
รูปหล่อ หลวงพ่อเดิม วัดหนองหลวง (พิเศษ...บรรจุตะกรุด) รูปหล่อโบราณหลวงพ่อเดิม วัดหนองหลวง รูปหล่อรุ่นนี้กล่าวกันว่า เป็นรูปหล่อรุ่นแรกของท่าน แต่ประวัติการสร้างไม่มีการบันทึกบอกกล่าวได้แต่คำบอกเล่าของนักนิยมสะสมพระรุ่นครูว่าเทหล่อที่วัดหนองหลวงเมื่อคราวบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหนองหลวง อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ ในราว พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๔๘๐ รูปหล่อนี้เทหล่อด้วยเนื้อทองผสมวรรณะ(เนื้อใน) เหลืองปนขาวเล็กน้อย เป็นพระเทหล่อโบราณแม่พิมพ์ประกบเทเป็นช่อตัดชนวนใต้ฐานคือนายช่างจะทำแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังเมื่อได้แม่พิมพ์แล้วจะทำการถอดหุ่นเทียนแล้วจึงเข้ากรรมวิธีเข้าช่อทาน้ำขี้วัว เข้าดิน และเมื่อถึงเวลาเทหล่อจะต้องสุ่มหุ่นและรอฤกษ์เท ในการทำแม่พิมพ์นี้นายช่างได้ทำแม่พิมพ์ขึ้นด้วยกัน ๒ แบบพิมพ์คือ ๑. พิมพ์ฐานเตี้ย ๒. พิมพ์ฐานสูง ข้อมูลและรายละเอียด ๑.รูปหล่อพิมพ์ฐานเตี้ย ลักษณะใบหน้าหลวงพ่อคล้ายผลมะตูม รายละเอียดทุกส่วนคมชัด ส่วนบริเวณสังฆาฏิจะมีเส้นจมคาดกลางในบางองค์จะเห็นช่างแต่งตะไบเส้นนี้ ใต้คำหลวงพ่อเดิมจะไม่มีเนื้อยื่นต่อลงจึงเป็นที่มาของพิมพ์ฐานเตี้ย(แต่มีบางองค์อาจมีเนื้อยื่นลงมาเล็กน้อยแต่ให้แยกพิมพ์ที่ใบหน้าจะชัดเจน) ใต้ฐานส่วนใหญ่เรียบไม่ค่อยพบว่ามีการลงเหล็กจารในบางองค์นายช่างจะทำการเจาะอุดเม็ดกริ่งซึ่งส่วนนี้จะพบเห็นน้อยมากส่วนมากรูปหล่อฐานเตี้ยนี้ถ้าอยู่ในสภาพเดิมส่วนมากจะเห็นผิวเงินคลุมทั่วองค์พระแต่ในบางองค์ตามซอกจะเห็นคราบดำซึ่งก็คือน้ำยารมดำนั่นเอง(พระเนื้อทองเหลืองส่วนใหญ่น้ำยารมดำจะรมไม่ติดจะเหลืออยู่แค่ตามซอกลึกเท่านั้น) รูปหล่อพิมพ์ฐานเตี้ยนี้จะไม่ค่อยปรากฏว่าช่างแต่งตะเข็บข้างและใต้ฐานส่วนใหญ่ไม่พบว่ามีการลงเหล็กจาร ๑. ลักษณะใบหน้าหลวงพ่อคล้ายผลมะตูม ๒. บริเวณสังฆาฏิจะมีเส้นจมคาดกลางในบางองค์จะเห็นช่างแต่งตะไบเส้นนี้ ๓. ใต้คำหลวงพ่อเดิมจะไม่มีเนื้อยื่นต่อลงจึงเป็นที่มาของพิมพ์ฐานเตี้ย (แต่มีบางองค์อาจมีเนื้อยื่นลงมาเล็กน้อย แต่ให้แยกพิมพ์ที่ใบหน้าจะชัดเจน) ๒.รูปหล่อพิมพ์ฐานสูง พิมพ์นี้การสร้างเช่นเดียวกับรูปหล่อพิมพ์ฐานเตี้ยทุกประการแตกต่างกันที่แม่พิมพ์ฐานสูงนี้ ใบหน้าหลวงพ่อจะเรียวเล็กเป็นรูปไข่ตลอดจนองค์พระจะแลดูชะลูดกว่าพิมพ์ฐานเตี้ย บริเวณฐานคำว่าหลวงพ่อเดิม ตัว “อ”จะคล้าย”จ”และจะมีเนื้อยื่นต่อลงมาใต้คำว่าหลวงพ่อเดิม จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ ด้านข้างของรูปหล่อพิมพ์ฐานสูงนี้ส่วนใหญ่จะมีรอยแต่งตะเข็บด้านข้างให้เป็นริ้วจีวรและบริเวณตะโพกด้านหลังติดฐานก็มีการแต่งเช่นเดียวกัน (มีส่วนน้อยที่ไม่มีการแต่ง) และการแต่งริ้วตะเข็บข้างนี้ก็มีทั้งชนิดแต่งในขณะที่เป็นหุ่นเทียนถ้าแต่งในลักษณะนี้เมื่อพิจารณาด้วยกล้องจะไม่มีความคมของเครื่องมือแต่จะปรากฏคราบเบ้าคลุมนี่เป็นจุดพิจารณาจุดหนึ่ง แต่ถ้าเป็นชนิดที่แต่งเมื่อเทหล่อแล้วเสร็จจะเห็นเป็นรอยแต่ง(นักนิยมสะสมพระมักเรียกว่ารอยแทงตะไบแต่รอยที่เห็นนี้มิใช่เป็นรอยตะไบแต่เป็นเครื่องมือช่างอีกแบบเรียกว่าเหล็กแทงทอง)ตะเข็บและริ้วจีวรตะโพกใต้ฐานช่างจะแต่งตะไบเรียบส่วนใหญ่มักจะปรากฏเหล็กจาร “พุฒซ้อน” หรือที่เรียกว่า “พระเจ้าอมโลก”ไว้ ยังไม่เคยพบว่าพิมพ์ฐานสูงมีการเจาะบรรจุเม็ดกริ่งเหมือนพิมพ์ฐานเตี้ยบางองค์ นอกจากนี้รูปหล่อพิมพ์ฐานสูงยังจำแนกผิวออกเป็น ๓ ชนิดอีกคือ ๑. ชนิดผิวพรายเงิน ชนิดนี้ผิวองค์พระปรากฏเป็นผิวพรายเงินคลุม ชนิดนี้ค่านิยมสูงที่สุด ๒. ชนิดผิวน้ำทอง ชนิดนี้ไม่ปรากฏมีพรายเงินคลุมแต่จะมีคราบน้ำทอง(สีเหลืองเหลือบทอง คล้ายผิวพระพุทธชินราชรุ่นอินโดจีน)ชนิดนี้ค่านิยมจะเป็นรองผิวพรายเงิน ๓. ชนิดผิวรมดำ ชนิดนี้ผิวองค์พระจะปรากฏน้ำยารมดำคลุมและผิวพระส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเรียบตึงจะเห็นเป็นรอยย่นซึ่งรอยเหล่านี้เกิดจากการที่ช่างนำพระที่เทหล่อเสร็จแล้วไปผ่านกระบวนการกัดน้ำยาเพื่อรมดำ(อย่างที่กล่าวข้างต้นน้ำยารมดำจะไม่จับผิวพระเนื้อทองเหลือง) รูปหล่อชนิดนี้ค่านิยมจะถูกกว่า ๒ ชนิดข้างต้นและวรรณะ(เนื้อ)จะเหลืองปนเขียวแต่ถ้าเป็น ๒ แบบข้างต้นเนื้อจะเหลืองปนขาวกว่า ชนิดผิวรมดำ ชนิดนี้ผิวองค์พระจะปรากฏน้ำยารมดำคลุมและผิวพระส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเรียบตึงจะเห็นเป็นรอยย่นซึ่งรอยเหล่านี้เกิดจากการที่ช่างนำพระที่เทหล่อเสร็จแล้วไปผ่านกระบวนการกัดน้ำยาเพื่อรมดำ(อย่างที่กล่าวข้างต้นน้ำยารมดำจะไม่จับผิวพระเนื้อทองเหลือง) รูปหล่อชนิดนี้ค่านิยมจะถูกกว่า ๒ ชนิดข้างต้น สรุปรูปหล่อหลวงพ่อเดิมวัดหนองหลวงจุดพิจารณาให้ยึดพิมพ์ให้แม่น จำวิธีการสร้างคือดูพระหล่อ-พระปั๊ม-พระฉีดให้แยกได้ เข้าใจธรรมชาติคือความเก่าความซีดความแห้งของพระตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อยเช่นรอยเหล็กจาร การแต่งตะไบให้ได้ จะประสพความสำเร็จ ส่วนจำนวนการสร้างทั้งสองแบบพิมพ์ไม่มีการบันทึกไว้ว่าสร้างเท่าไหร่เพียงแต่คาดเดาว่าทั้งสองแบบพิมพ์ไม่น่าเกิน ๒-๓พันองค์ ประการหนึ่งแบบพิมพ์ฐานเตี้ยชนิดที่ผ่านการรมน้ำยาดำผิวพระจะมีความตึงไม่เหมือนพระพิมพ์ฐานสูงชนิดรมดำที่ผิวพระส่วนใหญ่จะไม่เรียบตึง เพราะพิมพ์ฐานเตี้ยไม่ผ่านการกัดน้ำยา และส่วนตัวของผู้เขียนเองก็มีความเชื่อโน้มเอียงว่า รูปหล่อพิมพ์ฐานเตี้ยน่าจะสร้างก่อนพิมพ์ฐานสูงเพราะงานหล่อความสวยงามตลอดจนความเรียบร้อยสู้พิมพ์ฐานสูงไม่ได้และจำนวนการสร้างเมื่อเทียบเคียงพบเห็นน้อยกว่าพิมพ์ฐานสูงมากและนี่คือข้อมูลที่ผู้เขียนศึกษาค้นคว้านำเสนอ และถ้าท่านสมาชิกมีข้อมูลอื่นใดที่ชี้แนะติชม ผู้เขียนก็ยินดีรับไว้เพื่อประเทืองปัญญา ขอบคุณที่มา / เครดิต... www.facebook.com/jtaweesub |
|||||||||||||||
ราคา
|
091 0657798 | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
- | |||||||||||||||
ID LINE
|
0889747991 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
33,786 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 376-2-27954-0 ธนาคารกสิกรไทย / 037-3-86656-3
|
|||||||||||||||
|