เหรียญสมเด็จพุฒาจาร์โต รุ่น 100 ปี
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ตรีนิสิงห์ พระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
naput | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระเหรียญปั๊ม | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
เหรียญสมเด็จพุฒาจาร์โต รุ่น 100 ปี |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
เหรียญทองคำสมเด็จโต 100 ปี วัดระฆังปี 2515 (พิมพ์ ตาลึก ตัวตัดเงิน เนื้อทองแดงผิวไฟ) จัดสร้างโครงการปูชนียวัตถุพื่อเป็นอนุสรณ์ครบ 100 ปีแห่งมรณะภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในวันที่ 22 มิถุนายน2515 .ในการสร้างวัตถุมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพนะนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง เป็น"ปฐมมหามงคลฤกษ์"เมื่อวัน 16 กันยายน พ.ศ.2514 และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯเสด็จฯ"พิธีมหาพุทธาภิเษก"ในวันที่15 มิถุนายน พ.ศ.2515 พิธีกรรมทำดีมากได้นำเกสรดอกไม้ดอกบัวที่บูชาพระแก้วมรกตและเกสรดอกไม้ที่บูชาตามสถานที่สำคัญทั่วราชอาณาจักรทองคำเปลวที่ติดบูชาพระทั่วราชอาณาจักรโดยเฉพาะที่ปิด"พระรูปเหมือนสมเด็จโต"ภายในวิหารวัดระฆังรวมทั้ง ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผบตรีนิสิงเห และผงมหาราชที่บรรดาพระเกจิอาจารย์ประสิทธิ์ประสาทไว้นอกจากนี้ก็มีผงพระที่ชำรุดเช่น"พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จพระปลันทน์"รวมทั้ง"ผงว่าน 108 ชนิดไคลเสมาหน้าพระอุโบสถวัดระฆัง"พร้อมทั้งผงปูนจากเสมาและภายในพระอุโบสถเป็นต้นและมีคณาจารย์ร่วมปลุกเสกในยุตนั้นมากมายมี"สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ร่วมอยู่ถึง 3 พระองค์เช่น"สมเด็จพระวันรัต(ปุ่น)วัดพระเชตุพนฯ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(วาสน์)วัดราชบพิธฯและสมเด็จพระญาณสังวร(เจริญ)วัดบวรนิเวศวิหาร และยังมี หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลีร่วมด้วยหลังจากได้ร่วมพิธีได้บอกกับลูกศิลย์ว่าในพิธีมหาพุทธาภิเษกได้นิมิตเห็น"สมเด็จพระพุฒาจารย์โต" มาเวียนประทักษิณประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่ซุ้มตั้งวัตถุมงคลทั้งหมดจนครบ3รอบเป็นที่ฮีอฮาแก่บรรดาศิษย์ของ"หลวงปู่โต๊ะ" (เอาเป็นว่าคิดกันเล่นๆนะครับ พระสมเด็จวัดระฆังในชุดเบญจภาคี ปัจจุบันมีมูลค่ามหาศาลไปถึง 30-40 ล้าน และที่สำคัญไม่รู้ว่าแท้ 100% แต่เหรียญรุ่นนี้ เป็นนิมิตเห็นของหลวงปู่โต๊ะด้วยแล้ว ก็ถือว่าท่านสมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เข้ามาประกอบพิธีด้วย ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งครับ ตามความเชื่อของแต่ละบุคคลนะครับ) ในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่งและได้ช่างแห่งยุค "นายช่างเกษม มงคลเจริญ"มาออกแบบและแกะแม่พิมพ์ควบคุมการผลิตอีกด้วยครับ เรื่องราวพิธีกรรมการจัดสร้างวัตถุมงคล “อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี” แห่งมตกาล (กาลแห่งมรณภาพ) ของท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) วัดระฆังโฆษิตาราม” ก็ได้กล่าวมาโดยละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่า “วัตถุมงคล” รุ่นนี้จึงถึงพร้อมด้วย “พระพุทธคุณ, พระธรรมคุณ, พระสังฆคุณ” และ “พระมหากษัตริยาธิคุณ” เพราะ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองปูชนียวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นปฐมมหามงคลราชาฤกษ์ครั้งหนึ่งแล้ว และต่อมา ล้นเกล้าฯทั้งสองพระองค์ ยังเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกทั้ง “ทรงจุดเทียนชัย, เทียนนวหร คุณ, เทียนพระวิปัสสี” และ “ทรงพระสุหร่าย” พร้อม “ทรงเจิม” รวมทั้ง “ทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้” ปูชนียวัตถุมงคลรุ่นนี้ครบถ้วนแห่งพิธีกรรม ดังนั้นก่อนจะจบเรื่องราวของวัตถุมงคลรุ่นนี้ ผู้เขียนขอนำเกร็ดความรู้เพิ่มเติมมานำเสนอแก่ท่านผู้อ่านในส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุมงคลชุดนี้ดังนี้ ๑.ศาสดาจารย์สนั่น ศิลากร ศิลปินแห่งชาติซึ่งเป็นศิษย์เอกของ “ท่านศาสดาจารย์ศิลป์ พีระศรี (ศาสดาจารย์โคราโด เฟโรจี) ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย “ศิลปากร” โดย “ศาสดาจารย์สนั่น” เป็นผู้ปั้นรูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ขนาดเท่าองค์จริงสำหรับประดิษฐาน ณ โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดระฆังโฆสิตาราม ขนาด ๙ นิ้ว และ ๕ นิ้ว นอกจากนี้ ศาสดาจารย์สนั่น ยังเป็นผู้ออกแบบปั้น “ต้นแบบเหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จโต” แล้วมอบให้ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ นำไปดำเนินการจัดสร้างเหรียญที่ระลึกในครั้งนี้ด้วย ๒.นายโต ขำเดช เป็นช่างปั้นพระพุทธรูปฝีมือดีมีผลงานการปั้นพระพุทธปฏิมาประธานมากมายเช่น พระพุทธรูปประธานของ “สมเด็จพระเชษฐภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา” ใน “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖” พระพุทธรูปของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และ จอมพลถนอม กิตติขจร พระประธานขนาดใหญ่หน้าตัก ๘ วา ที่ห้างวิเศษนิยมเป็นเจ้าภาพถวายวัดที่อำเภอบ้านหมี่จังหวัดลพบุรี และเป็นประติมากรรับซ่อมพระมงคลบพิตร ในพระราชวังโบราณกรุงเก่า ในนามของ กรมศิลปากร และผลงานการปั้นออกแบบ “พระพุทธโคดม” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ วัดไผ่โรงวัว (วัดโพธาราม) จ.สุพรรณบุรี และการที่ นายโต ขำเดช มาปั้นพระพุทธรูปจำลองพระประธานยิ้มรับฟ้า รุ่น “อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)” ในครั้งนี้นั้นเนื่องจากเป็นการขอร้องของ ม.ล.เนื่องพร สุทัศน์ ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดและผูกพันกันมาตั้งแต่เมื่อครั้ง ม.ล.เนื่องพร ยังเป็นเด็กและได้เห็นฝีไม้ลายมือของ “นายโต” ที่ทำการสร้างสรรค์งานปั้นพระพุทธรูปมาช้านาน จึงได้ขอร้องให้เห็นแก่งานสำคัญที่สุดในชีวิตที่ได้มาปั้นพระพุทธรูปพระประธานวัดระฆังที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเททองหล่อ เป็นปฐมมงคลราชาฤกษ์ดังกล่าว ด้วยเหตุนี้นายโตจึงรับงานนี้ด้วยความเต็มใจเพื่อฝากผลงานสำคัญชิ้นนี้ไว้ในแผ่นดินและแม้ว่าขณะนั้น (ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔) นายโต จะมีอายุมากแล้วแต่ผลงานก็มิได้ทำให้ ม.ล. เนื่องพร ตลอดทั้งคณะกรรมการจัดสร้างรวมถึงผู้เกี่ยวข้อง “ผิดหวัง” แต่ประการใด ๓.นายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นนายช่างที่ฝากผลงานในรูปแบบพระเครื่อง “ขนาดเล็ก” เช่น “พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์” ไว้มากมายโดยในรอบระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๓๕ และที่รู้จักกันดีก็คือ “พระกริ่งอาจารย์ไสว” รุ่นต่าง ๆ และรุ่นที่พระอาจารย์ไสวเป็นเจ้าพิธีทำการผสมเนื้อโลหะและเททองเองเช่น “พระกริ่งจอมสุรินทร์ปี ๒๕๑๓, พระกริ่งมหาราชวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ปี ๒๕๑๒, พระกริ่งนเรศวรเมืองงายปี พ.ศ. ๒๕๑๒, พระกริ่งศรีนคร, พระกริ่ง จปร.วัดราชบพิธปี ๒๕๑๓, พระกริ่งอวโลกิเตศวรหลวงพ่อเกษม เขมโกปี ๒๕๑๘, พระกริ่งนางพญา, พระกริ่งธรรมราชา, พระกริ่งตากสิน, พระกริ่งลพบุรี, หลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง, พระกริ่งเอกาทศรถ ฯลฯ” ก็ได้อาศัยฝีมือนายช่างเกษมมาทำการ “ออกแบบและแกะแม่พิมพ์” พร้อมควบคุมการผลิต “พระผงพิมพ์สมเด็จ, พระผงพิมพ์รูปเหมือน” และ “พระกริ่ง-พระรูปเหมือนสมเด็จโต” โดยนายช่างเกษมระบุว่ารุ่นนี้ได้ตั้งใจทำเต็มที่เพราะมีความศรัทธาสมเด็จโตเป็นทุนเดิมประกอบกับเคยตั้งใจว่าจะต้องสร้างวัตถุมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับ “สมเด็จโต” แต่ยังไม่มีโอกาสดังนั้นเมื่อได้รับการติดต่อให้มาร่วมออกแบบ ในรูปแบบพระเครื่องจึงทำการจัดสร้างอย่างตั้งใจด้วยการยึดถือ “ความสุจริต” ในการทำงานโดยไม่มี “การสร้างเสริม” หรือ “สร้างเพิ่ม” แต่อย่างใดและปัจจุบันนายช่างเกษมอายุมากแล้วจึงยุติการรับงาน โดยหันไปปฏิบัติธรรมตามแนวทางของพระพุทธศาสนา ๔.ในพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคล “อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สมเด็จโต” นั้น “หลวงปู่โต๊ะ” (พระราชสังวราภิมณฑน์) ครั้งยังสมณศักดิ์ที่ “พระครูวิริยกิตติ” ได้รับอาราธนานิมนต์มาร่วมพิธีด้วยอีกรูปได้บอกกับลูกศิษย์ว่า ในพิธีมหาพุทธาภิเษกได้นิมิตเห็น สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาเวียนประทักษิณประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่กองวัตถุมงคลทั้งหมดจนครบ ๓ รอบ เป็นที่ฮือฮาแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของ “หลวงปู่โต๊ะ” ในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่งพร้อมเช่าบูชาวัตถุมงคลอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี รุ่นนี้คนละมากมายหลายแบบตาม ๆ กัน. |
|||||||||||||||
ราคา
|
091 0657798 | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
- | |||||||||||||||
ID LINE
|
0889747991 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
5,328 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 376-2-27954-0 ธนาคารกสิกรไทย / 037-3-86656-3
|
|||||||||||||||
|