พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ตรีนิสิงห์ พระเครื่อง | |||||||||||||||
โดย
|
naput | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระกรุ | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระขุนแผน กรุวัดทัพข้าว เนื้อผงพุทธคุณ ยุครัตนโกสินทร์ตอนปลาย |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
***พระพิมพ์เนื้อผงพุทธคุณ กรุวัดทัพข้าว (บางคนเรียก ทัพเข้า หรือ ทับข้าว) เป็นพระเนื้อผง ที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ โดยสร้างมาก่อนพระสมเด็จวัดระฆัง ของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี จากการได้รับความรู้จากนักนิยมพระเครื่องเนื้อผงอาวุโส เกี่ยวกับเรื่องราวของพระผงกรุวัดทัพข้าว ซึ่งท่านได้กล่าวว่าพระกรุนี้มีสามยุคด้วยกัน ***ยุคแรกสร้างสมัยสุโขทัย มีอายุมากกว่า 700 ปีเป็นพระเนื้อดินผสมผงพุทธคุณเนื้อขาวสะอาดและแกร่งเป็นหิน พบเปิดกรุที่จังหวัดสุโขทัย โดยนายเต็ง ไม่ทราบนามสกุล เป็นชาวบ้าน ตำบลกรุงเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เป็นผู้ไปขุดพบพระกรุนี้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 พระที่พบทั้งหมดมีพิมพ์ทรงต่าง ๆ เช่น พิมพ์พระร่วงยืนปางประธานพร พิมพ์พระร่วงนั่ง พิมพ์ยืนลีลา เป็นต้น ***ยุคที่สองสร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ประมาณสมัยรัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 5) มีอายุประมาณ 150-200 ปี เป็นพระผงพุทธคุณที่มีเนื้อหาจัดจ้านคล้ายกับพระสมเด็จวัดระฆัง และมีพิมพ์ทรงมากมาย เช่น พิมพ์พระหลวงพ่อโต พระขุนแผนห้าเหลี่ยม พระขุนแผนไข่ผ่า พระสาม พระนารายณ์ทรงปืน พระร่วง ฯ โดยจัดสร้างล้อพระพิมพ์ในยุคโบราณเป็นสำคัญ พระยุคนี้สันนิษฐานกันว่าสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี น่าจะมีส่วนในการสร้าง เนื่องจากเมื่อศึกษาเนื้อหามวลสารและสภาพธรรมชาติของพระยุคนี้แล้ว พบว่าหนีไม่ออกจากสูตรการสร้างของพระสมเด็จวัดระฆัง นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์เหล่านี้บางพิมพ์ในกรุในองค์พระยืนหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหารด้วย ***ยุคที่สามสร้างสมัยรัชกาลที่6 ถึงรัชกาลที่ 9 พระยุคนี้มีการสร้างพระพิมพ์โบราณเลียนแบบพระกรุวัดทัพข้าวที่มีอยู่เดิม ผู้สร้างที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ ได้แก่ หลวงพ่ออ้าว หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว เป็นต้น พระพิมพ์ที่พบมักมีเนื้อหาอ่อนกว่าพระยุคที่สอง แต่มีบางพิมพ์ทำเลียนแบบพระกรุวัดทัพข้าวยุคเก่า เช่น พิมพ์หลวงพ่อโต พิมพ์ขุนแผน เป็นต้น พระยุคนี้ทำให้เกิดการเล่นสับสนกับพระกรุวัดทัพข้าวยุคแรกและยุคสอง ทำให้เซียนบางคนตีเหมารวมว่าพระพิมพ์กรุวัดทัพข้าวเป็นพระเก๊ไปทั้งหมด ดังนั้นการศึกษาพระกรุวัดทัพข้าวจะต้องแยกแยะระหว่างพระที่สร้างยุคเก่าและยุคใหม่ให้ออก โดยยึดสภาพธรรมชาติที่เก่าแก่และเนื้อหามวลสารจัดถึงยุคเป็นสำคัญ ***สำหรับพระกรุวัดทัพข้าวที่สร้างสมัยรัตนโกสินทร์นั้น ผู้รู้ได้กล่าวถึงต้นกำเนิดว่ามีหลายสมมติฐานด้วยกัน ***สมมติฐานแรกสร้างสมัยรัชกาลที่ 3 ผู้สร้างคือ ขรัวตาแสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นพระอาจารย์เอกทางกรรมฐานของสมเด็จโต ซึ่งสมเด็จโตท่านได้พบขณะที่เดินธุดงค์ผ่านจังหวัดอยุธยา ในช่วงที่ท่านปลีกวิเวกจาริกในป่าตลอดระยะเวลา 15 ปีที่รัชกาลที่ 3 ทรงครองราชย์อยู่ ซึ่งท่านอาจารย์แสงมีความเมตตาต่อสมเด็จโตได้สอนวิชาย่นระยะทางและคาถาอาคมภูตพรายไสยเวทย์ให้สมเด็จโตอย่างเต็มที่ สำหรับการสร้างพระพิมพ์ของท่านอาจารย์แสงนั้น ท่านได้สร้างพระเนื้อผงพุทธคุณตามตำรับโบราณของพระเครื่องเมืองสุโขทัย ในสมัยรัชกาลที่ 3 ท่านได้สร้างพระพิมพ์ต่าง ๆ ไว้มากมายหลายพิมพ์ทรง โดยได้นำไปบรรจุกรุไว้ในจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดอยุธยา พระพิมพ์ที่สร้าง ได้แก่ พระพิมพ์สมเด็จก้างปลา ที่หายากที่สุด พระพิมพ์ที่ล้อพระพิมพ์ต่าง ๆ ในจังหวัดลพบุรี เช่น พิมพ์ทรงนารายณ์ทรงปืน พิมพ์พระสามตรีกาย เป็นต้น พระพิมพ์ที่ล้อพระพิมพ์โบราณต่าง ๆ ในจังหวัดอยุธยา เช่น พระพิมพ์หลวงพ่อโต พระขุนแผนไข่ผ่า พระพิมพ์ขุนแผนห้าเหลี่ยม เป็นต้น ซึ่งหลังขององค์พระนั้นจะมีสองแบบ คือ แบบหลังเรียบ ที่จะพบในพระพิมพ์ที่บรรจุกรุไว้ที่จังหวัดอยุธยา และแบบหลังหูไห่ จะพบในพระพิมพ์ที่บรรจุกรุไว้ที่จังหวัดสุโขทัย ซึ่งข้อสังเกตของพระที่มีหลังพระแบบหลังหูไห่ องค์พระมักจะทำให้มีเนื้อหาหนาและมีรูสองรูไว้ข้างหลังองค์พระ ที่เรียกว่า พิมพ์ทรงหูไห. |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
- | |||||||||||||||
ID LINE
|
0889747991 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
31,856 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารกสิกรไทย / 376-2-27954-0 ธนาคารกสิกรไทย / 037-3-86656-3
|
|||||||||||||||
|